เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (Understanding Goal):
เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นในป่าโคกหีบได้

week3


 

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 3เข้าใจเกี่ยวกับดินและสามารถปรุงดินให้ปลอดภัยและเหมาะแก่การปลูกพืชได้
Week
Input
Process  (PBL)
Output
Outcome
3



















3



โจทย์ 
ปรุงดิน
คำถาม
- นักเรียนจะปรุงดินให้เหมาะแก่การปลูกพืชได้อย่างไร
- ดินมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับปัญหา   ของดิน
- Flow  chart ขั้นตอนการปรุงดิน
- Show and Share      นำเสนอชิ้นงาน
- Mind Mapping      ดิน  พืช
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
-ป่าโคกหีบ
- บ้าน
- จอบ  /เสียม
- สวนป่าโรงเรียน
- อุปกรณ์ในการทดลอง
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต


วันจันทร์ 3 ชั่วโมง
ชง
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  นักเรียนจะปรุงดินสวนป่าของโรงเรียนให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูกพืช และเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อย่างไร
เชี่อม
- แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการปรับปรุงสวนป่าใน โรงเรียน เช่นจะทำอย่างไร   วางแผนอย่างไร เพราะเหตุใด
-เก็บตัวอย่างดินจากป่าโคกหีบ ที่บ้าน
ใช้
ปรับปรุงสวนป่าโรงเรียน
วันอังคาร 3 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นความคิด นักเรียนรู้ได้อย่างไร
ว่าในดินมีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบ
อะไรบ้าง
เชื่อม
- ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4  คนจากนั้น ทดลองดินที่ได้เตรียมมาจากบ้าน
- นักเรียนทำการทดลองตามใบบันทึกผลการทดลอง
- แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ทดลอง
- หาข้อมูลเกี่ยวกับดิน
ใช้
- สรุปผลการทดลององค์ประกอบของดิน
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับดินที่ได้จากการค้นคว้า
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นความคิด นักเรียนจะปรุงดินอย่างไรให้เหมาะแก่การปลูกพืชได้อย่างไร
เชื่อม
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับการปรุงดินให้เหมาะแก่การปลูกพืชสมุนไพรและพืชเมือง
- แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการปรุงดิน / ทำไมต้องปรุงดิน
ใช้
สรุปขั้นตอนการปรุงดินโดยใช้เครื่องมือ Flow  chart
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
- ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
- นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ไขปัญหา อย่างไร
- นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมในสัปดาห์ นี้
- นักเรียนจะนำความรู้ความเข้าใจไปปรับใช้ในชีวิต ประจำวันได้อย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์หน้า
เชื่อม
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับดินและการปรุงดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูก
ใช้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ภาระงาน
- เก็บตัวอย่างดินจากป่าโคกหีบ ที่บ้าน
- เตรียมอุปกรณ์ในการปรุงดิน
- บันทึกผลการทดลอง
ชิ้นงาน
Flow  char
การปรุงดิน
- ตัวอย่างดินจาก 
ที่บ้าน
สรุปผลการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ความรู้
- เข้าใจองค์ประกอบ คุณสมบัติ และประเภทของดิน
-เข้าใจวิธีการปรุงดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูก
ทักษะ :
 ทักษะชีวิต
-  ออกแบบ วางแผนการเตรียมดินเพื่อปลูกพืชได้
- ใช้อุปกรณ์ เช่น จอบ เสียม ในการทำงาน  และเก็บอุปกรณ์ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
-  สามารถคิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็น       สู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิตผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลายได้
ทักษะการสื่อสาร
 พูดนำเสนอเกี่ยวกับการทดลองและ              การปรุงดินได้
ผ่าน Mind  Mapping
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการทดลอง   และนำเสนอข้อมูลผ่าน Flow  chart
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบชิ้น 
งานได้
ทักษะ ICT
 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของดิน องค์ประกอบของดินคุณสมบัติทางกายภาพและประโยชน์ของดิน
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการทำงานกลุ่มได้
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- รับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์
- ส่งงานตรงเวลา
- อดทนพยายามทำงานจนสำเร็จ





ภาพกิจกรรม









ภาพชิ้นงาน








1 ความคิดเห็น:

  1. สรุปสัปดาห์ที่ 3
    ในสัปดาห์ที่ 3 นักเรียนได้ลงปรับสวนป่ากับคุณครู ผู้ปกครองอาสาที่ช่วยกัน จากที่เราทำยังไม่เสร็จการปรับสวนป่าก็จะปรับไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกพืชสมุนไพรและพืช ยืนต้น ซึ่งในเรื่องของการปรับสวนป่าในสัปดาห์นี้ก็จะมีผู้ปกครองอาสา นักเรียน คุณครูมาช่วยกันทำรั่วรอบสวนป่าและนักเรียนก็ได้ออกแบบเส้นทางเดินในส่วนป่า โดยการจับคู่แล้วสร้างชิ้นงานจากนั้นครูให้นำเสนอ โดยมีคู่ของพี่แจ๊บ พี่เพลง พี่แบงค์ ที่เพื่อน สนใจ จากนั้นให้เพื่อนได้ตัด หรือ เพิ่มเส้นทางเดินให้มีความเหมาะสมมากที่สุดในการเดินชมสวนพืชสมุนไพรและสวนป่าของโรงเรียน ในเรื่องของดินถือว่าเป็นกระบวนศึกษาเกี่ยวกับดินซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้ปะทะกับสิ่งที่เรียนรู้จริงซึ่งในการเตรียมดินนั้นนักเรียนก็จะเตรียมดินที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดินที่มาจากที่ต่างกันนำมาทดลองแล้วบันทึกผล จากนั้นนำมาแลกเปลี่ยนกัน โดยในแบบบันทึกก็จะมีหัวข้อ เช่น หัวข้อที่1 เมื่อนักเรียนเทน้ำลงไปในแก้วนักเรียนสังเกตเห็นอะไร พี่แบงค์ เห็นฝุ่น พี่โอ๊คเห็นเส้นผม แล้วครูถามต่อว่าสิ่งเหล่านั้นมาจากไหน พี่แจ๊บมาจากดิน พี่โอ๊ค มาจากมนุษย์ เป็นต้น หัวข้อที่ 2 เมื่อนักเรียนตักดิน 2 ช้อนโต๊ะ ลงในแก้วที่มีน้ำนักเรียนสังเกตเห็นอะไร พี่น็อต เศษใบไม้ ซากพืชซากสัตว์ พี่ออม ชั้นของดินระหว่างดินกับน้ำ หัวข้อที่ 3 เมื่อนักเรียนนำไม้ไปขนแล้วนักเรียนสังเกตเห็นอะไร พี่โจ น้ำเปลี่ยนสี พี่คอร์ด สีของน้ำคล้ายกาแฟ มีฟอง เป็นต้น และอีก1 การทดลองคือการนำดินลงในถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุงให้แน่นจากนั้นนำไปตากแดด 15 นาที แล้วบันทึกผลการทดลอง เช่น พี่แพรว ในดินมีน้ำ พี่แป้งในดินมีอากาศ เป็นต้น นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขในการศึกษาเกี่ยวกับดิน วันต่อมานักเรียนได้ค้นความเกี่ยวกับองค์ประกอบของดิน ประโยชน์ ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช การปรุงดิน และประเภทของดิน จากนั้นนักเรียนนำมาแลกเปลี่ยน ครูให้นักเรียนจับคู่แล้วให้นักเรียนทำ mind mapping พืช ดิน จากนั้นนำเสนอ มีคู่พี่แจ๊บพี่ออม คู่พี่โอ๊คพี่แดง จากนั้นให้คู่อื่นๆได้เพิ่มเติม ในส่วนที่แตกต่าง ครูให้นักเรียนเลือกพืชที่ตัวเองจะปลูกจากนั้นหาวิธีการปรุงดินที่เหมาะกับพืชที่ตัวเองจะปลูก โดยใช้เครื่องมือคิด Flow chart เมื่อนักเรียนทำเสร็จก็จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่น พี่แจ๊บ เลือกต้นตะไคร้ เป็นพืชที่ปลูกง่าย มีในท้องถิ่น การปรุงดินเช่นนำดินมาผสมกับปุ๋ยคอกจากนั้นผสมให้เข้ากันรองพื้นก่อนที่จะปลูก ก็มีพี่แดง กับพี่กอล์ฟ ที่เลือกปลูกตะไคร้เหมือนพี่แจ๊บ พี่แบงค์เลือก ต้นมะพร้าว การปรุงดินเช่น นำดินมาคลุกกับมูลสัตว์ เศษใบไม้แห้ง เศษอาหาร ใส่หัวจุลินทรีย์ จากนั้นใส่กากน้ำตาลรดน้ำให้ชุ่ม เป็นต้น และนักเรียนทุกคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามความสนใจ ซึ่งสัปดาห์ที่ 3 นี้นักเรียนได้ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆร่วมกับคุณครู ผู้ปกครองอาสาเป็นอย่างดี

    ตอบลบ