Understanding Goal : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมให้เหตุผลอ้างอิงได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
(10 – 14ส.ค 58)
|
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
- เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและมีความคิดเห็นอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน
Quarter นี้เพราะเหตุใด
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอะไร
เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
Round Robin : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เสียใจ/
ดีใจที่สุดประทับใจ,คลิปและ
เรื่องที่อยากเรียน
Card and Chart : เขียนเรื่องที่อยากเรียน
Show and
Share : นำเสนอเรื่องที่อยากเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิปภาพยนตร์เรื่อง Echo จิ๋วก้องโลก
- ป่าโคกหีบ
-
เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
|
วันจันทร์ 3 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
- เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- ครูเปิดคลิปภาพยนตร์เรื่อง
Echo จิ๋วก้องโลก ให้นักเรียนดู
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
บรรยากาศในห้องเรียนและจากคลิปภาพยนตร์เรื่อง Echo จิ๋วก้องโลก
ที่ได้ดู นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
ใช้
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปภาพยนตร์เรื่อง
Echo จิ๋วก้องโลก
รายบุคคลลงบนกระดาษ
A4
วันอังคาร 3 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
- นักเรียนจะทำอย่างไรในการสำรวจป่าโคกหีบ
- ในการสำรวจป่านักเรียนจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
เพราะเหตุใด
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการสำรวจป่าโคกหีบ
ผ่านคำถามในขั้นชง
ใช้
นักเรียนสำรวจป่าโคกหีบ
พร้อมจดบันทึกข้อมูลสิ่งที่ได้เรียนรู้
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้
- นักเรียนสำรวจป่าโคกหีบครั้งที่
2 ร่วมกับผู้ปกครอง พร้อมจดบันทึกข้อมูลสิ่งที่ได้เรียนรู้
- การบ้าน
(สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสำรวจป่าโคกหีบ)
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน
Quarter นี้เพราะเหตุใด
เชื่อม
นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนลงในกระดาษครึ่งของครึ่งA4
นำเสนอแลกเปลี่ยนให้ครูและเพื่อนๆฟัง
ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ให้น่าสนใจและเป็นปัญหาว่าอย่างไร
เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
เชื่อม
- นักเรียนนำเสนอชื่อหน่วย
ให้ครูและเพื่อนๆฟัง
- จากนั้นจับคู่แลกเปลี่ยนชื่อหน่วยและเขียนชื่อใหม่ที่ทั้งสองคนพอใจ
สุดท้ายนำชื่อหน่วยแต่ละคู่มาระดมความคิดตั้งชื่อหน่วยที่ทุกคนทั้งห้องเห็นด้วยและพอใจ
1 ชื่อ
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน
ผ่านคำถามใน ขั้นชง
ใช้
- สรุปองค์ความรู้ ก่อนเรียน ผ่าน
Mind Mapping (การบ้าน)
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
|
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้จากคลิป
- สรุปสิ่งที่ได้จากสำรวจป่าโคกหีบ
- เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
Mind Mapping ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ดูคลิปภาพยนตร์เรื่อง Eco จิ๋วก้องโลก
- สนทนาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
ได้ฟัง
- สำรวจ ป่าโคกหีบ
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนสำรวจป่าโคกหีบ
-
แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ออกแบบ วางแผนสำรวจป่าโคกหีบ
- เห็นการเชื่อมโยง
เห็นความสัมพันธ์ของป่าต่อตนเอง
- ใช้อุปกรณ์
เครื่องมือที่เหมาะสมในการเดินสำรวจป่า
- สังเกต จดบันทึกการเดินทางในป่า
ทักษะการสื่อสาร
- พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
-
พูดนำเสนอสิ่งที่ได้จากการดูคลิปและเรื่องที่อยากเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
- นำเสนอแลกเปลี่ยน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจป่าโคกหีบ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์คาดการณ์และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการเดินป่า
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลจากการดูคลิปเพื่อเขียนสรุปความเข้าใจและจัดองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องป่า
ผ่าน Mind Mappingได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้
กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม
อดทนในการเดินสำรวจป่า
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
|
ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้
สัปดาห์แรกของการเรียนรู้ครูสร้างฉันทะสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับป่า จากนั้นครูสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนดูภาพยนตร์ เรื่อง Echo จิ๋วก้องโลก ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคมที่แตกต่างกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมและมีวิถีที่แตกต่างกัน ระหว่างที่ดูภาพยนตร์ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม เช่น ตัวละครชื่ออะไร ทำไมจอเป่ถึงได้ยินเสียงของสัตว์ คนกระเหรี่ยงนิยมอาศัยอยู่บริเวณใดของประเทศไทย งูใหญ่คืออะไร เมื่อยิงcool boom แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อดูภาพยนตร์จบครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่ได้จากการดูภาพยนตร์ ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการดูภาพยนตร์เรื่องนี้ ? พี่ออม : รู้ว่ามะขามป้อมช่วยในการกระหายน้ำได้ พี่แจ๊บ : รู้จักงูใหญ่คือพลังงานที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน พี่แดง พี่เมย์ : วิถีของคนในป่าความเชื่อ พี่ภูมิ :การยิงcool boom ทำให้ทำลายชั้นโอโซนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จากนั้นครูให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการดูภาพยนตร์เรื่องEcho จิ๋วก้องโลก ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนโดยใช้เครื่องมือ card & chart ครูแจกกระดาษให้จากนั้นนักเรียนแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตัวเองจะเตรียมไปจากนั้นติดในบอร์ดครูให้นักเรียนจัดหมวดหมู่สิ่งที่ต้องเตรียมในการสำรวจป่ามีจากกากรแลกเปลี่ยนมีดังนี้ น้ำดื่ม กระเป๋า หมวก ยา ถุงดำ สมุดจดบันทึก และชุดนักเรียนเอามาเปลี่ยนเมื่อกลับมาจากการสำรวจป่าและสร้างข้อตกลงในการไปเดินสำรวจป่า เช่น เคารพสถานที่ ไม่ส่งเสียงดังไม้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ วันต่อมาครูและนักเรียนรวมตัวกันและทบทวนข้อตกลง แต่เมื่อคืนฝนตกครูกระตุ้นด้วยคำถาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางนักเรียนคิดว่าอะไร พี่แพรว : ถนนลื้น สัตว์หนีน้ำ ก่อนที่จะเดินทางก็เจอปัญหาคือฝนตกลงอย่างหนักแต่นักเรียน ครูก็รอให้ฝนหยุดตก และเดินทางในการสำรวจป่า ระหว่างทางก็เกิดฝนตกอีกครั้งแต่ครูและนักเรียนก็เดินทางเข้าไปในป่าอย่างมุ่งมั่นและในที่สุดก็ต้องเดินทางกลับเพราะฝนตกหนักทั้งครูและนักเรียนเปียกหมดทุกคน เมื่อกลับมาถึงโรงเรียนฝนเกิดหยุดตกแต่ก็ไม่ได้เดินทางไปในป่าต่อ นักเรียนเปลี่ยนชุดนักเรียนแต่มีบางคนที่ไม่ได้เตรียมชุดมา เช่น พี่แพรว พี่ฝ้าย พี่ครัช พี่แบงค์ เป็นต้น จากนั้นครูนักเรียนมาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้จากการสำรวจป่า ปัญหาอุปสรรค์และสิ่งที่ต้องเตรียมไปในครั้งต่อไป พี่ๆบอกว่า เช่นเห็นขยะที่เป็นถุงพลาสติก ขวดแก้ว เศษกระเบื้อง ศาลพระภูมิที่ชำรุด เศษห่อลูกอม กระจก ปัญหาคือฝนตก เพื่อนไม่มีหมวก ไม่มีเสื้อแขนยาว ทางลื้น ไม่มีร่ม ถุงดำที่เตรียมไปเก็บขยะต้องเอามาใส่สัมภาระ ครูนักเรียนร่วมกันวางแผนสิ่งที่ต้องเตรียมไปในครั้งที่ 2 มีเพิ่มคือ ชุดในการเปลี่ยน ร่ม เสื้อแขนยาว คนที่แพ้ยุงให้ทายากันยุง เป็นต้น วันต่อมาครูและนักเรียนรวมตัวกันพร้อมกับผู้ปกครองอาสา เช่น แม่พี่ภูมิ แม่พี่เพลง แม่พี่ใบเตย พ่อพี่น็อด พ่อพี่สตางค์ พ่อพี่แป้ง พ่อพี่โจ เป็นต้น เมื่อเดินถึงป่าแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้เดิน 3 เส้นทางในการสำรวจป่าจดบันทึก ครู ผู้ปกครอง นักเรียนร่วมกันวางแผนการเรียนในป่าโคกหีบ ครู นักเรียน ผู้ปกครองได้ปะทะกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ ใช้เวลาในการเดินป่า 1ชั่วโมง 30 นาที แต่ในการเดินทางกลุ่มครูยุ้ยก็มีปัญหาคือนักเรียนหายไป 3 คน คือ พี่แบงค์ พี่ออม พี่โอ๊ค นักเรียน 3 คนเดินไปรอที่โคกหีบ แต่คนที่อยู่ในกลุ่มพยายามจะเดินไปตามแต่ไม่เจอเพราะไม่รู้เส้นทาง ทั้งนักเรียนครูก็มาร่วมกันที่จุดนัดหมายและเดินทางกลับโรงเรียน แต่ ครูยุ้ย พ่อพี่น๊อต พ่อพี่สตางค์ ก็ไปตามนักเรียน 3 คนที่ไปรออยู่ที่โคกหีบ นักเรียนทั้ง 3 คนก็เดินกลับมาสวนทางกับพ่อพี่สตางค์เดินทางกลับโรงเรียนอย่างปลอดภัย จากนั้น
ตอบลบนักสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในการสำรวจป่าโคกหีบ ปัญหาคือ การรับสารไม่เข้าใจ การทำงานกลุ่ม ไม่รู้เส้นทางในป่าโคกหีบ ครูมอบหมายให้นักเรียนไปคิดชื่อหน่วยในการเรียน Quarter นี้ วันต่อมาครูให้นักเรียนเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ card & chart จากนั้นจัดหมวดหมู่สิ่งที่นักเรียนเขียนมาเกี่ยวกับป่าทั้งหมด ครูให้นักเรียนตั้งชื่อหน่วยที่น่าสนใจโดยใช้เครื่องมือ Think Pair Chart จากที่นักเรียนคิดคนเดียวเป็นการบ้านนั้นจับกลุ่ม 3 คนให้ได้หนึ่งหัวข้อเรื่อง เช่นกลุ่มพี่แพรว : Echo จิ๋วก้องป่า กลุ่มพี่เพลง : ป่าให้ชีวิต กลุ่มพี่ฝ้าย : มีป่าก็มีเรา จากนั้นครูให้นำมาร่วมกันแล้วช่วยกันตั้งเป็นชื่อเดียว แต่ก็พบปัญหาคือสรุปไม่ได้แน่ชัดว่าจะตั้งเป็นชื่ออะไร ครูมองเห็นว่าทุกคนยังไม่มีอารมณ์ร่วมกับการตั้งชื่อ จากนั้นครูให้นักเรียนแลกเปลี่ยนว่าจะจะทำอย่างไร หรือจะพักไว้ก่อน พี่ออม : ขอตั้งชื่อหน่วยอีกครั้งคะ พี่แจ๊บ : ตั้งชื่อหน่วยอีกครั้งครับ จากนั้นครูถามนักเรียนว่าจะใช้เวลาเท่าไรในการตั้งชื่อครั้งที่ 2 พี่ๆบอกว่าขอเวลา 10 นาที นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนในการตั้งชื่อหน่วยที่มีความหมายจนสุดท้ายทุกคนเห็นร่วมกันว่า คือลมหายใจแห่งผืนป่า ให้เหตุผลว่า ป่ามีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่ร่วมกัน ลมหายใจบ่งบอกว่ายังคงอยู่ และเราจะทำอย่างไรให้ป่าคงอยู่ต่อไป จากนั้นครูให้นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1 และให้การบ้าน สรุปองค์ความรู้ (ก่อนเรียน)
ตอบลบ