เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (Understanding Goal):
เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นในป่าโคกหีบได้

week2

Understanding  Goal : นักเรียนสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
2
(17-21
ส.ค 58)
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับป่าและอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
Think Pair Share : ระดมความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ในหน่วยนี้
Backboard Share : ระดมความคิดในการวางแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
Brainstorm: ระดมความคิดเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้ (แผ่นเล็ก)
Show and Share นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
Wall Thinking สิ่งที่รู้แล้ว  สิ่งที่อยากเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ ปรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี      
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ 3 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับป่าและอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้
ใช้
นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับป่า (รายบุคคลลงกระดาษ A4)
เชื่อม
นักเรียนจับคู่ ครูแจกสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ที่แต่ละคนเขียนไว้ให้แต่ละคู่ช่วยกันดู (สิ่งที่เหมือนกันเลือกเพียงข้อเดียว สิ่งที่แตกต่างยกมาทั้งหมด)
ใช้
 นักเรียนช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้  (แผ่นใหญ่)
วันอังคาร 3 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร
เชื่อม
- นักเรียนช่วยกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้แต่ละเรื่องมากรุ๊ปเนื้อหาว่าน่าจะอยู่ในกลุ่มใดเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Blackboard Share
นักเรียน ช่วยกันวางแผนการเรียนรู้ลำดับความสำคัญของเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
แบ่งนักเรียนออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คนช่วยกันคิดรูปแบบกิจกรรม ชิ้นงาน แหล่งเรียนรู้ ในแต่ละเนื้อหาที่วางแผนไว้ โดยบันทึกแบบร่างลงในกระดาษA3 ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorm นำเสนอครูและเพื่อน ครูและเพื่อนเสนอแนะเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ผ่านเครื่องมือคิด Show and Share
ใช้
  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมตกแต่งให้สวยงามสอดคล้องกับหน่วย
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้
  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมตกแต่งให้สวยงามสอดคล้องกับหน่วย ต่อจากเมื่อวาน
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามใน ขั้นชง
ใช้
  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
(แผ่นเล็ก)
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
(แผ่นใหญ่)
ทำปฏิทินการเรียนรู้
(แผ่นเล็ก)
ทำปฏิทินการเรียนรู้
(แผ่นใหญ่)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ภาระงาน
- ระดมความคิดในการวางแผนการเรียนรู้
- เสนอความคิดเห็นและตกแต่งห้องเรียน
นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind Mapping (ก่อนเรียน) และสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ตลอด 9 สัปดาห์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ได้
- ออกแบบตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับหน่วยได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ กรรไกร
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผลได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
- จัดหมวดหมู่ปฏิทินรายสัปดาห์ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
 คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหน่วย
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น


ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้












ภาพชิ้นงาน








1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนรู้ หลังจากที่นักเรียนได้หัวข้อและตั้งชื่อหน่วยในสัปดาห์ที่ผ่านมา สัปดาห์นี้ก็จะเป็นการวางแผนและออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตลอด 9 สัปดาห์ โดยคุณครูได้ให้นักเรียนเขียนสิ่งที่ตนเองรู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ตนเองได้เลือกไว้ สิ่งที่นักเรียนรู้แล้วโดยใช้เครื่องมือคิด Think Pair Share และBlack board share เช่น ป่ามีสิ่งคุ้มครอง ในป่ามีสมุนไพร ป่าเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน ป่าถูกบุกรุก ป่าเป็นที่อยู่ของสัตว์มีป่ามีขยะป่าไม้ถูกตัดไม้ทำลาย ป่ามี 2 ประเภท รู้ว่ามีป่าชายเลน ฯลฯ สิ่งที่อยากเรียนรู้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับป่า ระบบนิเวศ ประวัติความเป็นมา ป่าในอนาคต การปรุงดิน ป่าเกิดจากอะไร ระบบนิเวศ ฯลฯ จากนั้นเมื่อนักเรียนได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ ครูให้นักเรียนจัดหมวดหมู่สิ่งที่อยากเรียนรู้โดยจัดเป็น 9 สัปดาห์ เช่น การปรุงดิน การเจริญเติบโตของพืช ข้อดี/ข้อเสียของป่า ระบบนิเวศ ประเภทของป่า ป่าในอนาคต ประวัติป่าโคกหีบ พิธีกรรม ฯลฯ จากนั้นนักเรียนจับคู่ 2 คน ออกแบบปฏิทินทั้ง 9 สัปดาห์จากนั้นใช้เครื่องมือคิด Black Board share ซึ่งพบปัญหาในบางคู่เท่านั้นเช่น พี่โอ๊ค พี่น็อต ที่ทำงานไม่เสร็จ จากนั้น ถามถึงสาเหตุคือนักเรียนไม่ช่วยกันทำให้ทำงานเสร็จไม่ทัน ครูให้เวลาในการทำงานเพิ่มเมื่อทำงานเสร็จ แล้วจับกลุ่ม 8 คนเพื่อทำปฏิทินแผ่นใหญ่ ทั้ง 9 สัปดาห์ และตกแต่งหน้าห้องเรียนให้เหมาะแก่การเรียนรู้ นักเรียนวางแผนการเรียนรู้เสร็จเร็วกว่ากำหนดเวลาที่ให้ ครูจึงเพิ่มกิจกรรมการปรับปรุงสวนป่าในโรงเรียนร่วมกับผู้ปกครองอาสา ครูและนักเรียนวางแผนปรับปรุงสวนป่าของโรงเรียนนักเรียนเตรียมอุปกรณ์ เช่น จอบ เสียม มีด เลื่อย มาโรงเรียนก่อนที่จะลงมือปรับปรุงสวนป่า
    วันที่ปรับปรุงสวนป่าก็มาถึง นักเรียนและครูสร้างข้อตกลงในการทำงาน การใช้อุปกรณ์ การทำความสะอาด แต่มีนักเรียน 2 คนที่ตัดหน่อไม้ คือพี่แบงค์ กับพี่ตะวันซึ่งถือเป็นการทำลายทรัพยากร นอกเหนือข้อตกลง ก็ได้ทบทวนข้อตกลงร่วมกันใหม่ จากนั้น ช่วยกันปรับสถานที่ เช่น วัชพืช กิ่งไม้ ใบไม้ รั้ว เป็นต้น วันศุกร์มีผู้ปกครองอาสามาช่วยในการทำงานเช่น พ่อพี่แป้ง พ่อพี่โจ พ่อพี่สตางค์ พ่อพี่น็อต แม่พี่เช็ค แม่พี่เนย มาช่วย เป้าหมายในการปรับส่วนป่าของโรงเรียน เพื่อแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน เป็นส่วนหนึ่งของ หน่วยป่า นักเรียนจะได้ปลูกพืชที่เหมาะแก่สภาพแวดล้อม สังเกต ดูแลสิ่งที่มีให้คงอยู่ เข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ผ่านการลงมือทำ
    ทำไมต้องมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสา เข้าใจสิ่งที่ลูกๆเรียนรู้ ร่วมเรียนรู้กับลูกๆ เห็นสิ่งที่ครูและโรงเรียนทำ เกิดสัมพันธภาพระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็กๆ เปิดเวทีให้ผู้ปกครองได้แสดงความสามรถเห็นคุณค่ากันและกัน

    ตอบลบ