เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (Understanding Goal):
เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นในป่าโคกหีบได้

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558




เป้าหมาย (Understanding Goal): เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นในป่าโคกหีบได้
Big Questions:
1. ป่าโคกหีบมีความสำคัญกับคนในชุมชนอย่างไร
2. ป่าสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอย่างไร
ภูมิหลังของปัญหา
      ป่าโคกหีบ เป็นป่าเต็งรังที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ในชุมชนกวางงอย เดิมในอดีตป่าโคกหีบถือเป็นผืนป่าที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 100 ไร่ มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายของระบบนิเวศที่เกื้อกูลกัน ชุมชนพึ่งพาอาศัยป่าโคกหีบในการดำรงชีวิต เช่น หาฝืน เก็บพืชสมุนไพร หาอาหาร ล่าสัตว์ รวมทั้ง
เป็นสถานที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรมที่สำคัญของคนในชุมชน เช่นพิธีเลี้ยงผีเจ้าปู่ และพิธีบวชป่า
       แต่ปัจจุบันพบว่าป่าโคกหีบถูกบุกรุกและพื้นที่ลดลงจำนวนมากอีกทั้งมีการลักลอบตัดต้นไม้ และนำขยะไปทิ้งซึ่งทำให้ป่าเกิดความเสื่อมโทรม ในอนาคตอันใกล้หากคนในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงไม่ตระหนักถึงความสำคัญและอนุรักษ์ป่าโคกหีบซึ่งเป็นป่าชุมชนผืนสุดท้ายของหมู่บ้านกวางงอย อาจเหลือเพียงชื่อและตำนานของป่าโคกหีบเพียงเท่านั้น จึงเป็นที่มาของการเรียนรู้หน่วยป่าโคกหีบ นักเรียนจะแก้ปัญหาอย่างไร ทำอย่างไรให้คนในชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญของป่าโคกหีบ
ปฏิทินการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL ( Problem Based Learning )
 หน่วย : ลมหายใจแห่งผืนป่า

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  Quarter 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
- เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและมีความคิดเห็นอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้เพราะเหตุใด
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงปิดเรียน
Card and Chart : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอสรุปสิ่งที่ได้จากคลิป
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิปภาพยนตร์เรื่อง Echo จิ๋วก้องโลก
- ป่าโคกหีบ
- เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- ครูเปิดคลิปภาพยนตร์เรื่อง Echo จิ๋วก้องโลก ให้นักเรียนดู
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู
- สำรวจ ป่าโคกหีบ ครูกระตุ้นการคิด เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร เพราะเหตุใด จะทำอย่างไร
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้ เรื่องนั้น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ดูคลิปภาพยนตร์เรื่อง Eco จิ๋วก้องโลก
- สนทนาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง
- สำรวจ ป่าโคกหีบ
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนสำรวจป่าโคกหีบ
- แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้จากคลิป
- สรุปสิ่งที่ได้จากการสำรวจป่าโคกหีบ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ออกแบบ วางแผนสำรวจป่าโคกหีบ
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของป่าต่อตนเอง
- ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการเดินสำรวจป่า
- สังเกต จดบันทึกการเดินทางในป่า
 ทักษะการสื่อสาร
- พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
- พูดนำเสนอสิ่งที่ได้จากการดูคลิปและเรื่องที่อยากเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
- นำเสนอแลกเปลี่ยน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจ
ป่าโคกหีบ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์คาดการณ์และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการเดินป่า
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการดูคลิปเพื่อเขียนสรุปความเข้าใจและจัดองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องป่า ผ่าน Mind Mappingได้
ทักษะ ICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการเดินสำรวจป่า
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
2
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
- นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับป่าและอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
- นักเรียนจะออกแบบห้องเรียนอย่างไรให้เหมาะกับการเรียนรู้ใน  Quarter นี้เครื่องมือคิด :
Think  Pair Share : ตั้งชื่อหน่วย
Blackboard  Share : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นเนื้อหาที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ ปรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี          
- บรรยากาศในห้องเรียน
กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- ตั้งชื่อโครงงาน
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
- ทำปฏิทินการเรียนรู้ 9 สัปดาห์
- เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน  
- วาดภาพตกแต่งหน้าห้องเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ระดมสมองตั้งชื่อโครงงาน
นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping)
ทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
ทำเค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
ทำปฏิทินการเรียนรู้(แผ่นเล็ก)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind Mapping และสามารถออกแบบวางแผน
กระบวนการเรียนรู้ตลอด 9 สัปดาห์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินได้
- ออกแบบตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับหน่วยได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่น สี กระดาษ กรรไกร
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ก่อนเรียน
- จัดหมวดหมู่ปฏิทินรายสัปดาห์ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหน่วย
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- ส่งงานตรงต่อเวลา
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
3
โจทย์ :  ปรุงดิน
Key Questions :
- นักเรียนจะปรุงดินให้เหมาะแก่การปลูกพืชได้อย่างไร
- ดินแต่ละประเภทเหมือน
หรือแตกต่างกันอย่างไร
- ดินมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง
เครื่องมือคิด :
Flow chart : ขั้นตอนการทำอาหารประเภทเส้นและการทำเส้นขนมจีน
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการปรุงดิน
 Blackboard Share : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในการปรุงดิน
 Flow  Chart :
ขั้นตอนการปรุงดิน
 Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- ป่าโคกหีบ
- ดินในชุมชน
- อุปกรณ์ในการหาองค์ประกอบของดิน
- สวนป่าโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  นักเรียนจะปรุงดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูกพืชได้อย่างไร
- สำรวจป่าโคกหีบและเก็บตัวอย่างเดินจากป่าโคกหีบ  และที่บ้าน
- ทดลองเพื่อหาองค์ประกอบของดิน
- สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้สิ่งที่ได้จากการทดลอง
- ศึกษาค้นคว้าองค์ประกอบ  คุณสมบัติ และประเภทของดิน
- เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อปรุงดิน  ให้เหมาะแก่การปลูกพืช
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- เก็บตัวอย่างดินจากป่าโคกหีบ ที่บ้าน
- เตรียมอุปกรณ์ในการปรุงดิน
- บันทึกผลการทดลอง
- ปรับปรุงสวนป่าโรงเรียน
ชิ้นงาน
-  Flow  chart  การปรุงดิน
- ตัวอย่างดินจาก ที่บ้าน
สรุปผลการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจองค์ประกอบ คุณสมบัติ และประเภทของดิน
- เข้าใจวิธีการปรุงดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกทักษะ :
 ทักษะชีวิต
ออกแบบ วางแผนการเตรียมดินเพื่อปลูกพืชได้
- ใช้อุปกรณ์ เช่น จอบ เสียม ในการทำงาน  และเก็บอุปกรณ์ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
สามารถคิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้และการดำรงชีวิตผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลายได้
ทักษะการสื่อสาร
 พูดนำเสนอเกี่ยวกับการทดลองและการปรุงดินได้ผ่าน Flow Chart
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการทดลอง และนำเสนอข้อมูลผ่าน
 Flow  chart
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของดิน องค์ประกอบของดินคุณสมบัติทางกายภาพและประโยชน์ของดิน
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการทำงานกลุ่มได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- รับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์       
- ส่งงานตรงเวลา
- อดทนพยายามทำงานจนสำเร็จ
4
โจทย์ :  ระบบนิเวศ / ประเภทของป่า
Key Questions :
- ป่าแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร
- ทำไมป่าแต่ละประเภทถึงมีพืชที่แตกต่างกัน
- ป่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Blackboard  share :  ระดมความคิดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสำรวจ
Round  Robin : ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจากการเดินสำรวจป่า
Place  mat : วิเคราะห์ความแตกต่างของป่า
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ป่าโคกหีบ
- ป่าหนองพลวง
- ป่าช้า
- ป่าห้วยลำมาศ
- อุปกรณ์สำหรับเดินป่า
- กระดาษ  ปรู๊ฟ
- สำรวจ ป่าโคกหีบ ป่าหนองพลวง  ป่าช้า  และป่าห้วยลำมาศ  (มีพื้นที่เป็นจุดในการบันทึกข้อมูล)
- แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสำรวจป่า
- จัดหมวดหมู่สิ่งที่ได้จากการศึกษาป่าแต่ละชนิด
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบนิเวศ  ประเภทของป่าไม้ และห่วงโซ่อาหาร 
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- สำรวจ ป่าโคกหีบป่าหนอง  พลวง  ป่าช้า  ป่าห้วยลำมาศ        
- เตรียมอุปกรณ์ในการเดินป่า
- การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของป่า
- นำเสนอชิ้นงานแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้จากการดูคลิป
- Place  mat วิเคราะห์ความแตกต่างของป่า
- ชาร์ตความรู้ประเภทของป่า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจเกี่ยวกับประเภทของป่า
- สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของป่าและระบบนิเวศได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบ วางแผนการสำรวจป่า
- สังเกต จดบันทึกการเดินทางในป่า
- ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอแลกเปลี่ยน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจป่า
- อธิบายความเหมือนและความแตกต่างของป่าให้เพื่อนๆและครูเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและจัดหมวดหมู่ ข้อมูลจากการค้นคว้า
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบ  และการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้
เต็มศักยภาพของตนเอง
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศ  ประเภทของป่าไม้ และห่วงโซ่อาหาร 
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการเดินสำรวจป่า
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์เดินป่า
5
โจทย์ :  เลือกสรรโดย
ธรรมชาติ ( ทฤษฏี ชาล์ล   
ดาวิน )
Key Questions :
- ทำไมธรรมชาติถึงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง
- ทำไมพืชในที่ร่มและโล่งแจ้งถึงแตกต่างกัน
- ทำไมพืชสมุนไพรถึงมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตมีอะไรบ้างเครื่องมือคิด :
Round  Robin :  เกี่ยวกับทฤษฎี  ชาลล์ ดาวิน
Show and Share นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับทฤษฏี ชาลล์
ดาวิน
Black board chare :  ระดมความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการวิทยากร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- วิทยากร อาจารย์นฤมล  
ครูอ้น
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A3
- สี/ปากกาเคมี      
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ป่าโคกหีบ
- ครูให้นักเรียนสำรวจพืชในที่ร่มและที่โล่งแจ้ง
- นักเรียนบันทึกผลที่ได้จาการสังเกตพืชในที่ร่มและ
ที่โล่งแจ้ง
- แลกเปลี่ยนเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสำรวจพืชในร่มและพืชกลางแจ้ง
- สนทนาแลกเปลี่ยนกับครูอ้น และครูนฤมล 
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฏี ชาร์จ ดาวิน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ค้นคว้าข้อมูลทฤษฎี ชาล์ล
ดาวิน
- สำรวจพื้นที่โล่งแจ้งกับที่ร่ม
- การแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับทฤษฎี ชาล์ล ดาวิน
- นำเสนอชิ้นงาน
ชิ้นงาน
บันทึกสิ่งที่ปรากฏเห็นของ          พืชในที่ร่มและที่โล่งแจ้ง
 - บทความเหมือนความต่างของพืชที่โล่งแจ้งกับพืชที่ร่ม
- ชาร์ตความรู้ สรุปทฤษฎี ชาล์ล ดาวิน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับการเลือกสรรโดยธรรมชาติ  การแย่งชิง การต่อสู้ ของธรรมชาติเพื่อการอยู่รอดและสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดที่อยู่รอดทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบ วางแผนการสำรวจ
- ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า
- สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้
- สามารถแก้ปัญหา มีวิธีการในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่องานที่ทำ
ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการสื่อสารในการแสดงความคิด เห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
- นำเสนอแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ทฤษฎีชาล์ล ดา วิน
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลผ่าน ชาร์ตความรู้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบ  และการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกสรรโดยธรรมชาติ  ชาลล์   ดาร์วิน  (Darwin's Theory)
- มีวิธีการในการค้นคว้าข้อมูลให้สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
ทักษะ การแก้ปัญหา
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักในการเรียนรู้
- มีความพยายาม อดทนในการทำงาน
- มีเจตคติที่ดีต่อการฟัง
6
โจทย์ : ประวัติป่าโคกหีบ
Key Questions :
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้คนในชุมชนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของป่า
โคกหีบ
- นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร เมื่อชมสารคดี
ห้วยพ่าน และถ้าเป็นเราจำทำ อย่างไร
- นักเรียนจะตัดต่อสารคดีให้น่าสนใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin :  พูดคุยแลก เปลี่ยนเกี่ยวกับทำอย่างไรให้คนในชุมชนรู้และตระหนักถึงความ สำคัญของป่าโคกหีบ
Show and Share : 
นำเสนอชิ้นงาน story  board
Mind Mapping : สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ป่าโคกหีบ          
- บรรยากาศในห้องเรียน
- I pad
- ฉาก  เสียงเพลง
- อุปกรณ์ประกอบสารคดี
- ครูเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการถอดบทเรียน(ห้วยพ่าน)  ให้นักเรียนดู
- ครูถามคำถามกระตุ้นความคิด จากคลิปที่ดู รู้สึกอย่างไร เห็นอะไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการดูคลิป
- สิ่งที่ได้เรียนรู้จะนำไปปรับใช้อย่างไร
- นักเรียนวางแผนการทำ Story  Board สารคดีป่าโคกหีบ
- นักเรียนศึกษาโปรแกรมในการตัดต่อสารคดีป่าโคกหีบ
- นักเรียนเดินทางไปถ่ายสารคดีที่ป่าโคกหีบ
- นักเรียนตัดต่อสารคดีป่าโคกหีบ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ดูคลิปวีดีโอถอดบทเรียน
(ห้วยพ่าน)
- วางแผนการทำ story  board
- เตรียมอุปกรณ์ในการถ่ายสารคดีที่ป่าโคกหีบ
- นำเสนอชิ้นงาน  story  boardชิ้นงาน
- story  board สารคดีป่าโคกหีบ
- วีดีโอ สารคดีป่าโคกหีบ
- สะท้อนตัวเองจากการทำสารคดี
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจประวัติป่าโคกหีบ สามารถทำให้คนในชุมชนรู้และตระหนักถึงความ สำคัญของป่าโคกหีบ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- วางแผนออกแบบทำสารคดีป่าโคกหีบ
- การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในป่า อย่างคุ้มค่าในอดีต
- การทำงานร่วมกับคนอื่น
ทักษะการสื่อสาร
- แสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
- นำเสนองานผ่าน สารคดีป่าโคกหีบได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลนำเสนอผ่าน story  board และสารคดี
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบ  และการสร้างสรรค์สารคดีในรูปแบบแง่มุมใหม่ได้
ทักษะ ICT
การใช้  ICT ในการถ่ายวีดีโอ ตัดต่อวีดีโอ และค้นคว้าข้อมูล
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้
- มีความพยายาม อดทนในการทำให้สำเร็จ
- ส่งงานตรงต่อเวลา
- กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็นใน
ประเด็นที่สงสัย
7
โจทย์ : การถ่ายทอดและเผยแพร่ความสำคัญของป่าโคกหีบ
Key Question :
นักเรียนจะถ่ายทอดและเผยแพร่ให้คนในชุมชนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของป่าโคกหีบได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round  Robin : เกี่ยวกับการถ่ายทอดและเผยแพร่เกี่ยวกับป่า โคกหีบ
Think  Pair  Share : เกี่ยวกับการการแสดงละคร
Show and Share :
นำเสนอละคร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้นำชุมชน
- ชาวบ้าน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- กระดาษ A4
- สี/ปากกาเคมี      
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อุปกรณ์การแสดงละคร
- เชิญวิทยากร ผู้นำชุมชน  ชาวบ้านมาถ่ายสารคดี
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะตั้งคำถามแบบใดในการสัมภาษณ์วิทยากร  และการสัมภาษณ์ที่ดีควรเป็นอย่างไร
- นักเรียนถ่ายสารคดีร่วมกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน
- เผยแพร่งานสารคดีผ่าน เครือข่ายต่างๆ
- นักเรียนร่วมกันวางแผนการแสดงละคร ฉาก บท ตัวละคร อุปกรณ์ในการแสดง
- นักเรียนซ้อมการแสดงละคร / เตรียมอุปกรณ์การแสดง
- ครูเปิดคลิป พระราชบัญญัติป่าชุมชน หาข้อมูลเพิ่มเติม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- เตรียมคลิปวีดีโอ
- วางแผนการแสดงละคร
- เตรียมอุปกรณ์ในการแสดง
- การถ่ายสารคดีกับผู้นำ ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน
- นำเสนอชิ้นงาน เผยแพร่ชิ้นงาน
ชิ้นงาน
- เค้าโครงเรื่องละครเกี่ยวกับป่าโคกหีบ
- สารคดีป่าโคกหีบ
- สรุปสิ่งที่ได้จากการค้นคว้าเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติป่าชุมชน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
- สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับป่าโคกหีบให้คนในชุมชน นักเรียน รู้และตระหนักถึงความสำคัญได้
- รู้เข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป่าชุมชน
ป่าไม้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบ วางแผนการแสดง
  ละครได้
- สามารถใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า เช่น I Pad
- สามารถแก้ปัญหา มีวิธีการในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับป่าโคกหีบ ให้คนได้รู้และเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอ ข้อมูลผ่านสารคดี และการแสดงละคร
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
สามารถออกแบบ  และคิดการสร้างสรรค์ในการทำสารคดีและการแสดงได้เต็มศักยภาพของตนเอง
ทักษะ ICT
สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำสารคดี และการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป่าชุมชน
ทักษะ การแก้ปัญหา
- มีวิธีการในการค้นคว้าข้อมูลให้สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักในการเรียนรู้
- มีความพยายาม อดทนในการทำสารคดีและการแสดงละคร
- เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านสารคดีและการแสดงละคร
8
โจทย์ : การดูแลป่า
Key Questions :
- ทำไมป่าในปัจจุบันถึงลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว
- นักเรียนสามารถดูแลและแก้ไขปัญหาป่าลดลงอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าการบวชป่าจะทำให้ป่าคงอยู่หรือไม่
เพระเหตุใด
เครื่องมือคิด :
Round Robin :  พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ได้เรียนรู้และความรู้สึกของตนเองจากคลิป
ชักเย่อ ความคิด การบวชป่าจะทำให้ป่าคงอยู่หรือไม่
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียนชั้น ป.5-ป.6
- ผู้ปกครอง
- คนในชุมชนใกล้เคียง
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- อุปกรณ์ในการแสดงละคร
- เมล็ดพันธุ์
- ผ้าจีวรใช้ในการบวชป่า
- ครูเปิด สารคดี สืบนาคเสถียรนักอนุรักษ์ป่า ให้นักเรียนดู
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากสารคดีที่ได้ดู
- สืบค้นประวัติของนักอนุรักษ์  สืบนาคเสถียร  ดาบวิชัย
- สนทนาเกี่ยวกับทำไมป่าในปัจจุบันถึงลดน้อยลงอย่างรวดเร็วและนักเรียนคิดว่าเราจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
- เก็บขยะ หว่านเมล็ดพันธุ์ในป่าโคกหีบร่วมกับชุมชน
- กิจกรรมบวชป่าร่วมกับชุมชนกวางงอย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับนักอนุรักษ์
- การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับนักอนุรักษ์  สืบนาคเสถียร  ดาบวิชัย
- บวชป่า เก็บขยะ หว่านเมล็ดพันธุ์
ชิ้นงาน
- นิทานการอนุรักษ์ป่า
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมบวชป่า หว่านเมล็ดพันธุ์
- สรุปบุคคลสำคัญในการ
  อนุรักษ์ป่า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับป่าโคกหีบให้นักเรียนและชุมชนเข้าใจได้
- เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับการลดลงของป่าไม้ในปัจจุบัน รวมทั้งเข้าใจแนวโน้มในการรักษาป่าให้คงอยู่ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบ วางแผนกับชุมชนในการดูแลป่าโคกหีบ
- นำเมล็ดพันธุ์ที่มีในชุมชน ไปปลูกในป่าโคกหีบ
- เห็นการเชื่อมโยงของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่ส่งผลต่อป่า
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ เรียนรู้ จากการดูแลป่านักอนุรักษ์ป่า
ทักษะการจัดการข้อมูล
 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากคลิป
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
 คิดออกแบบ  และการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
ทักษะ ICT
 การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับนักอนุรักษ์  สืบนาคเสถียร  ดาบวิชัย
ทักษะการแก้ปัญหา
- คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
- แก้ปัญหาเฉพาะในกิจกรรมบวชป่าได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
9
โจทย์ :สรุปองค์ความรู้ 
Key Questions:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนหน่วยลมหายใจแห่งผืนป่าและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรพัฒนามีอะไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการนำเสนอความงอกงาม
Show and Share : นำเสนอMind Mapping หลังเรียน
Blackboard  Share : ระดมความคิดวางแผนเปิดบ้าน
Place met สิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนาต่อ
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อุปกรณ์การแสดง
- ห้องเรียน
- กระดาษ A4/A3
- บรรยากาศในห้องเรียน

ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนหน่วยลมหายใจแห่งผืนป่าและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรพัฒนาเกี่ยวกับการเรียนหน่วยเรื่องลมหายใจแห่งผืนป่า
- ซ้อมนำเสนอผลงาน เช่นละคร / พิธีกร
- จัดห้องบรรยายในห้องเรียน
- เปิดบ้าน นำเสนอผลงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนาต่อ
จัดบรรยากาศในห้องเรียน เตรียมเผยแพร่องค์ความรู้
ซ้อมละคร
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- Mind Mapping
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ละคร
- Place met สิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนาต่อ
สรุปการเรียนรู้ราย
สัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถถ่ายทอดตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาตลอด 8 สัปดาห์ให้ผู้อื่นรับรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบวางแผนการแสดงละครสรุปความเข้าใจได้)
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ ผ้า
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบกิจกรรมในการนำเสนอผลงานได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ เค้าโครงละคร และ Mind Mapping สรุปองค์ความรู้(หลังเรียน)ให้ครูและเพื่อนเข้าใจได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสิ่งที่เรียนได้
คุณลักษณะ
- มั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความพยายาม อดทนในการเตรียมความพร้อมในการนำเสนองานให้สำเร็จ
- กล้าแสดงออก ผ่านละคร